วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

จัดการความรู้เทศการของดีเมืองสุรินทร์



       จังหวัดสุรินทร์  โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์ สร้างค่านิยมองค์ Surin’s ซึ่งหมายถึง
S-Smart:เป็นคนเก่ง คนดี แสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา U-Unity:ความเป็นเอกภาพ มีความสามัคคีในองค์กร R-Relationship:การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี I-Integration:ทำงานแบบบูรณาการ N-Network:สร้างเครือข่าย ทำงานกับเครือข่าย ไปสู่ความสำเร็จ Succesfull และได้ดำเนินโครงการริเริ่มสร้างสรรค์  ในปี ๒๕๕๗  คือโครงการสุรินทร์สู่ความสำเร็จปั้นดินให้เป็นดาว Surin’s  5  D  To  the  star 
              ข้าพเจ้าซึ่งเป็นพัฒนากรประสานงานตำบลดอนแรด และตำบลหนองบัวทอง ได้พิจารณาคัดเลือกตำบลต้นแบบในการดำเนินโครงการฯ คือ ตำบลหนองบัวทอง มีความพร้อมในหลายๆ ด้าน เช่น ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ผลิตภัณฑ์ชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งการดำเนินการประกอบไปด้วย กระบวนการ 5 D ดังนี้
                    1 Discovery การค้นหาทุน ประชุมสร้างความเข้าใจคณะทำงานระดับตำบล และประชุมกับผู้นำชุมชน เพื่อค้นหาทุนผ่านเวทีประชาคม
                   Design เมื่อได้ข้อมูลจากเวทีประชาคม ประสานผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน เข้าร่วมในการออกแบบโปรแกรม เชื่อมโยงทุนที่มีออกแบบเป็นโปรแกรมท่องเที่ยวในทุกๆหมู่บ้าน และมีการเชื่อมต่อกับแหล่งท่องเที่ยวที่มีภายในตำบล
                   Decoration จากการออกแบบเป็นโปรแกรมท่องเที่ยวทุกหมู่บ้านกลับไปเตรียมความพร้อมในหมู่บ้าน ปรับปรุงตกแต่ง สถานที่ ผลิตภัณฑ์ เตรียมรับการทดสอบ โดยเน้นให้มีการจัดลำดับความสำคัญในการตกแต่งโปรแกรมก่อนหลังเพื่อความน่าสนใจ
                   4 Development จากทดสอบโปรแกรม นำข้อมูลย้อนกลับเข้าสู่เวที เพื่อวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน เพื่อพัฒนาโปรแกรมให้มีความเหมาะสมกับบริบทของชุมชนแต่ละชุมชน เพื่อความยั่งยืน
                   Decentralize การตลาดแบบกระจาย โดยประสานภาคีการพัฒนาเข้าร่วมโปรแกรม
และเป็นพี่เลี้ยงทีมงานในการจัดกิจกรรมตามโปรแกรมที่กำหนด
              ซึ่งเทคนิคที่สำคัญในการดำเนินโครงการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จ สามารถตอบโจทย์ในเรื่องของวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการฯ การเพิ่มจำนวนสินค้าOTOP ในพื้นที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น  ซึ่งแน่นอนว่า กระบวนการดังกล่าว คือ กระบวนการ การตลาดแบบกระจาย( Decentralize )ซึ่งข้าพเจ้าดำเนินการ ดังนี้
                1. การประชาสัมพันธ์กิจกรรมของชุมชน ให้ส่วนราชการ ผู้นำชุมชนในอำเภอรัตนบุรี ผ่านเวทีประชุมกำนัน ผู้ใหญ่ ให้ได้รับทราบกิจกรรมในพื้นที่
              2. นำโปรแกรมของตำบลหนองบัวทอง ประชาสัมพันธ์ยังพื้นที่ตำบลที่รับผิดชอบอีกตำบลเพื่อขายโปรแกรม        
              3. ลงทะเบียนผู้ที่สนใจเข้าร่วมโปรแกรมท่องเที่ยวตำบลหนองบัวทอง
              4. กำหนดวันเวลาที่ท่องเที่ยวให้ชัดเจน
              5. นัดหมายสถานที่รวมตัวเพื่อง่ายต่อกานำเที่ยว
              ผลการกิจกรรมการตลาดแบบกระจาย (Decentralize)  ทำให้มีกิจกรรมการเรียนรู้  การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์  ตลอดจนการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ของประชาชนในชุมชน  เป็นการรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น  องค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน  องค์ความรู้ที่มีอยู่กระจัดกระจายในชุมชน  และจัดการให้เป็นหมวดหมู่  มีความชัดเจนเป็นรูปธรรมที่ประชาชนสามารถนำไปพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ที่ดำเนินการโดยประชาชนและเพื่อประชาชน



เทศกาลของดีเมืองสุรินทร์


การทำงานเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนให้บรรลุเป้าหมาย คือ ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์  ดำเนินการโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบูรณาการกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง สถาบันการศึกษา รวมทั้งภาคีการพัฒนา  ทั้งภาครัฐและเอกชน การแสวงหางบประมาณและความร่วมมือในทุกด้าน  ก็เพื่อทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และในปี๒๕๕๕  ที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์ก็สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ บรรลุเป้าหมาย ทั้ง ๕  ยุทธศาสตร์  แต่การนำเสนอโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดีเด่นในปีนี้ เพื่อหวังจะแก้จุดอ่อน ขจัดอุปสรรค พร้อมทั้งนำจุดดีเด่น โอกาสการพัฒนาที่มี ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และพัฒนาให้ชุมชนเข้มแข็ง  เศรษฐกิจมั่นคง ต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ชุมชนจะจัดการความรู้ของตนเองอย่างไร

ผมตั้งประเด็นนี้ไว้เป็นประโยคคำถาม ว่า ชุมชนจะจัดการความรู้ของชุมชนเองอย่างไร นั่นหมายถึงผมขออนุญาตละข้อคำถามว่าจะส่งเสริมให้ชุมชนหันมาจัดการความรู้ของตนเอง ทำอย่างไรชุมชนถึงจะให้ความสำคัญกับองค์ความรู้ไปก่อนนะครับ เอาละสมมติว่าชุมชนตื่นตัวมากที่จะจัดการความรู้ในชุมชนกันเราในฐานะนักส่งเสริมสนับสนุนเเละประสานงานในการบริหารจัดการชุมชน(เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน)จะทำอย่างไรก่อนอื่นนักพัฒนาต้องตระหนักในฐานความรู้ของตนเองให้ชัดเจน ว่าแล้วความรู้ของชุมชนคืออะไร อะไรที่เรียกว่าความรู้ในชุมชน หากเราไม่เข้าใจหรือนิยามความรู้ของชุมชนไม่ชัดเจน ผมว่าเราจบเห่กันแน่นอนครับ ดังนั้นท่านต้องฟันธงครับว่าความรู้ชุมชน คือ ......อะไรกันแน่?

เมื่อเข้าใจเเจ่มเเจ้งชัดเจนเเล้ว เรื่องการส่งเสริมเเละสนับสนุนการจัดการก็จะชัดตามมาด้วย...ในทัศนะของผมแล้วความรู้ในชุมชน ก็คือ องค์ความรู้ที่ชาวบ้านเขาใช้ในการประกอบอาชีพเลี้ยงปากท้องนั่นเเหละครับ...พ่วงด้วยวัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาที่ชุมชนเขาประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเเก้ปัญหาทั้งเชิงสังคม เศรษฐกิจ หรือการเมืองด้วยก็ได้ ....เริ่มโฟกัสมาใกล้เข้ามาอีกนิด....ดังนั้นเพื่อจะตอบคำถามว่าเเล้วชุมชนจะจัดการความรู้ชุมชนอย่างไรจึงมองเห็นเเสงไฟที่ปลายอุโมงค์บ้างเเล้ว นั่นคือ...เราจะออกเเบบกระบวนการอย่างไรที่จะหนุนเสริมให้ชุมชนเขาหันมาภาคภูมิใจในอาชีพ ในทักษะ ในภูมิปัญญาที่เขามี และเต็มอกเต็มใจที่จะเเลกเปลี่ยน ถ่ายทอด เเละบันทึกไว้ให้อนุชนหรือผู้คนอื่นๆที่จะเรียนรู้เเล้วนำ กลับไปพัฒนาตนเอง ครอบครัว หรือชุมชนในที่สุด...ปัญหาในชุมชนโดยเฉพาะเรื่องปากท้อง การสนับสนุนให้เขาบริหารจัดการตนเองทั้งเรื่องการกำหนดอนาคตเอง(แผนชุมชน) การหาทุนและบริหารการใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาทักษะเชิงอาชีพ เหล่านี้ล้วนต้องได้รับการส่งเสริมให้ชุมชนได้นำองค์ความรู้ที่ชุมชนมีมาจัดการ สร้างการเรียนรู้ ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้มากที่สุด...เอาละครับ วันหน้าผมจะลงรายละเอียดเชิงรูปธรรมครับ